เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู โดย นางสาวผกามาศ จันทร์แสนตอ Information and Communication Technology for Teachers by Pagamas Jansantor

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทความเทคโนโลยี

อัพเดทเทคโนโลยี

อัพเดตเทรนด์ด้านเทคโนโลยีสำหรับปี 2014 ให้ทราบกัน





ในอนาคตอันใกล้นี้ โลกของเราจะเข้าไปสู่ “ยุคข้อมูลมหาศาล” กันแล้วค่ะซึ่งเรามีระบบในการเก็บข้อมูลพวกนี้ เราสามารถดึงข้อมูลเหล่านี้มาใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกต่อไป เนื่องจากพัฒนาการด้านระบบคอมพิวเตอร์จากเครื่องเดียวมาสู่การเชื่อมโยงกัน เริ่มจากระบบแลน (Local Area Network หรือ LAN) ที่ใช้ภายในองค์กรที่เรียกว่า เครือข่ายข้อมูลภายใน (Intra-Net) ไปสู่การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสากลทั่วโลก (Inter-Net) จากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ก็กลายเป็นขนาดเล็ก พกพาได้สะดวกขึ้น แต่เดิมคอมพิวเตอร์ถูกสร้างมาให้แก้สมการในการคำนวณที่ซับซ้อน 

ต่อมาจึงเริ่มสร้างมาให้ใช้งานทางด้านสันทนาการ เช่น การเล่นเกม การติดต่อพูดคุยกันเพื่อนๆ หรือคนรู้จักด้วยเสียงและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องระยะทาง
นอกจากนี้ยังใช้ในเรื่องความบันเทิง เรื่องเพศ รวมถึงธุรกิจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ และการทำธุรกรรมที่สำคัญอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราก็สามารถใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา ทำให้รับรู้เรื่องราวระหว่างกันได้เพียงไม่กี่วินาที
ในช่วงเวลา 50 – 60 ปีที่ผ่านมานี้ เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตและสังคมของโลกไปอย่างมากมาย ข้อมูลมากมายถูกดึงออกมาใช้จากระบบเทคโนโลยีดังกล่าว ช่วยเพิ่มผลผลิตของประเทศ และเพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นการลดต้นทุนการบริโภคและลดการทำลายสภาวะแวดล้อมด้วย เพียงแค่คลิกเข้าไป 2-3 เว็บไซต์เราก็ได้คำตอบ พร้อมข้อแนะนำ บทวิเคราะห์อีกมากมาย จนปัจจุบันโลกก้าวไปสู่ยุคที่เรียกว่า “ยุคข้อมูลท่วมท้น”
แต่นอกจากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังส่งข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผล หลักความคิดและลัทธิต่างๆ รวมถึงเนื้อหาที่รุนแรงไปยังผู้ใช้อีกด้วย เราจะต้องรู้จักกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับมาเสียก่อน และเลือกเฉพาะสิ่งที่ต้องการข้อมูลจริงๆ และไม่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของเราด้วย เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามามากขึ้นแทนที่เราจะได้รับความสะดวกสบายขึ้น กลับกลายเป็นว่าคนยุคใหม่มีความต้องการมากขึ้นตามไปด้วย และไม่มีความอดทนในการทำงานเก็บเงินสะสม 20-30 ปีแบบคนสมัยก่อน






   เพราะโลกของอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องของความเร็ว วันต่อวัน นาที  ต่อนาที หรือแค่เสี้ยววินาที ระบบเครือข่ายและระบบ Cloud จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงการให้บริการต่างๆ ที่สามารถทำได้จากที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ การกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อขอรับบริการจึงเกิดขึ้นอย่างแพร่สะพัด มิจฉาชีพจึงเห็นช่องทาง และสามารถโจรกรรมข้อมูลของเราได้อย่างง่ายดาย กฎหมายที่มีอยู่ก็ไม่สามารถรองรับได้ทันท่วงที เพราะมีช่องทางและกลเม็ดมากมาย ที่ผู้ขโมยสามารถนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ หลายประเทศจึงปรับปรุงกฎหมาย ให้เกิดการรัดกุม มีระบบตรวจสอบที่ชัดเจน เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวไม่ให้ถูกลักลอบไปใช้ ดังนั้น Social Media และ Cyber Security จึงกลายเป็นตลาดกลุ่มใหญ่






เมื่อช่วงต้นปี 2012 google ได้เผยโปรเจกต์ แว่นตาแห่งโลกอนาคต ที่มีชื่อว่า Project Glass เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ให้ผู้ใช้งานทั่วโลก ด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเลนส์กระจกใส แว่นตาสามารถเรียกใช้ข้อมูล google ได้อย่างรวดเร็ว พลิกโฉมแว่นตาธรรมดา ให้เป็นแว่นสุดไฮเทค เรียกว่า Google Glass นวัตกรรมนี้ถูกถ่ายทอดผ่านคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของแว่นตา ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการให้ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายภาพวิดีโอผ่านกล้องตัวจิ๋วที่ติดอยู่ที่ขาแว่นตา การสั่งการค้นหาข้อมูลต่างๆ ด้วยเสียง การพูดคุยทางไกลผ่านวิดีโอดิจิตอล หรือแม้กระทั่งคำสั่งแปลภาษา โดยใช้เสียงของผู้ใส่เป็นตัวควบคุมทั้งหมด ฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ จะแสดงเป็นภาพ และสัญลักษณ์ผ่านเลนส์แว่น และโชว์เป็นไอคอนการประมวลผลขนาดเล็กทางด้านขาวบนของเลนส์ google glass รุ่นแรก ถูกต้องชื่อว่า Explorer ออกว่าจำหน่ายราคาประมาณ 44,800 บาท โดยผู้สั่งซื้อต้องอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา และต้องผ่านการคัดเลือกจากบริษัท google เท่านั้น http://www.youtube.com/watch?v=v1uyQZNg2vE





3D Printing ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีค่ะ ที่เชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องพิมพ์ในระบบ 3 มิติ จากเดิมงานพิมพ์จากเครื่องพิมพ์มักบันทึกอยู่บนแผ่นกระดาษแบบ 2 มิติ ที่มีเพียงความกว้าง และความยาวเท่านั้น เมื่อโลกพัฒนาเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีจนไปได้ไกลถึงระบบ 3D ทำให้สามารถพิมพ์วัสดุที่มีความลึกแบบ 3 มิติได้ และสามารถกำหนดขนาดได้ ตั้งแต่ของชิ้นเล็กๆ เช่นของเล่นเด็ก จนถึงสิ่งของชิ้นใหญ่ๆ เช่นที่พักอาศัย เมื่อเชื่อมต่อระบบ 3D Printing เข้ากับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องทำแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ หรือจ้างโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อทำตัวอย่างโมเดลที่ต้องสั่งจำนวนมากๆ ถึงจะได้ราคาที่ถูกลง อีกทั้งยังสามารถทำเองในครัวเรือนได้ง่ายดาย



Janne Kyttannen ได้นำกระบวกการพิมพ์วัตถุทีละชิ้น (Layer by layer Process) ซึ่งเป็นขั้นตอนการผลิตของ 3D Printing มาผสมผสานกับการออกแบบวิธีการผลิตอาหารภายในครัวเรือน ซึ่งเราสามารถทำได้ตั้งแต่เมนูง่ายๆ เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ซีเรียล พาสต้า ไปจนถึงการผลิตรูปทรงอาหารที่แปลกใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องอิงกับกรรมวิธีการผลิตเดิม แม้กระทั่งองค์การนาซ่ายังให้ความสนใจ เพื่อนำไปผลิตอาหารในกระสวยอวกาศระหว่างปฏิบัติหน้าที่ของนักบินอวกาศที่ต้องเดินทางเป็นเวลานานๆ อีกด้วย




แม้กระทั่งวงการแฟชั่นเอง โดยนักออกแบบรุ่นใหม่ก็นำเอาไอเดียที่ได้จากเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์กับรันเวย์ระดับโลกได้ อย่างดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศส Franck Sorbier ได้เผยคอลเลกชันล่าสุด เป็นผลงานการตัดเย็บสำหรับฤดูหนาว 2012/2013 ที่มีนางแบบแค่ 2 คน ใส่ชุดราตรียาวสีขาว และชุดราตรีรัดรูปสีดำ พร้อมหมวกทรงสูง แล้วฉายภาพเป็นลวดลายต่างๆ บนชุดที่นางแบบใส่ และฉากหลังบนเวที เป็นการเล่าเรื่องราวของเทพนิยายชื่อ Donkey Skin  ผลงานของ Fanck ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการผสมผสานศิลปะการแสดงกับการจัดแสงสีสำหรับการละคร http://www.youtube.com/watch?v=8n0C3ZwFpCQ





นอกจากเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างคนกับคนแล้ว ยังเชื่อมต่อระหว่างคนกับสิ่งของด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ของโลกไซเบอร์ เช่น กระเป๋าเดินทางอัจฉริยะอย่าง Airbus Bag2Go ติด QR Code ไว้ที่ตัวกระเป๋าสำหรับการสแกนเพื่อเช็คอินกับทางสายการบิน เจ้าของกระเป๋ายังสามารถใช้ระบบ GPS เพื่อตามหากระเป๋าเมื่อสูญหายได้ ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ กระเป๋าบางรุ่นสามารถชาร์ตแบตเตอรรี่มือถือได้อีกด้วย หรือติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณเรดาร์ให้กระเป๋าเลื่อนได้เอง ผ่านการควบคุมของรีโมทคอนโทรล สามารถกำหนดให้กระเป๋าเคลื่อนไหวตามเจ้าของได้
ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีถึงแม้จะแทนกำลังคนได้ในระดับเทียบเท่าหรือมากกว่า แต่การประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่สามารถมีอำนาจการตัดสินใจ การใช้วิจารณญาณ หรือมีความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้แบบมนุษย์ จากผลการวิจัยพบว่าผลงานที่ประสบความสำเร็จต้องมาจากการผสมผสานการทำงานระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ถ้าเปรียบเทียบแล้วประสิทธิภาพการทำงานของคน 3 คน เท่ากับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง